พื้น SPC คือ ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้าง แตกต่างจากกระเบื้องยาง LVT อย่างไร

พื้น SPC คือ อะไร SPC ย่อมาจาก (Stone Plastic Composite Flooring ) หรือที่หลายคนมักเรียกว่า กระเบื้องยาง คลิ๊กล็อค  SPC เป็นอีกประเภทหนึ่งของกระเบื้องยาง ซึ่งเรียกตามส่วนผสมการผลิต เกิดจากการผสมกันระหว่าง พลาสติกพีวีซี กับ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษไม่ติดไฟ ลดการหดตัวได้มากกว่ากระเบื้องยางประเภทอื่น ๆ มีลวดลาย 2 แบบให้เลือก ลายหิน และ ลายไม้ ถึงแม้จะเป็นลายไม้ แต่ก็ไม่ใช่ไม้จริง ๆ ดังนั้นหมดปัญหาต่างๆ ในเรื่องของปลวก และความชื้นไปได้เลย

  • พลาสติก PVC มาพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษในเรื่องของความเหนียว และยืดหยุดเป็นพิเศษ
  • แคลเซียมคาร์บอเนต มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษในเรื่องของความแข็งแรงทนทาน

สำหรับในส่วนของตัวผิวด้านบนที่เป็นลวดลายต่าง ๆ มีการเคลือบด้วย Wear Layer หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชั้นเคลือบผิว มีความหนาตั้งแต่ 0.30 มิลลิเมตร  เป็นการเพิ่มความคงทนต่อการเกิดรอยขีดขวนต่างๆได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม มาพร้อมโฟมกับวัสดุที่ช่วยให้เดินบนพื้นมีความนุ่มเบาสบาย ไร้เสียง

พื้น spc ข้อเสีย ก็มีเช่นกัน แม้จะเป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของหินแต่ก็ยังมีพลาสติกรวมอยู่ด้วย ดังนั้นการนำไปใช้บริเวณที่ต้องโดนน้ำตลอดเวลา เช่น ปูในห้องน้ำ หรือ ระเบียงที่ไร้กันสาด ดูไม่เหมาะนัก อาจทำให้เกิดการบวมน้ำอายุการใช้งานของ แผ่น spc น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เหมาะกับการใช้งานภายในบ้านบริเวณที่ไม่โดนน้ำท่วมขังตลอดเวลาเสียมากกว่า

 

ความแตกต่างของ กระเบื้องยาง LVT และ พื้น SPC คือ

กระเบื้องยางแบบคลิ๊คล็อคมีด้วยกัน 2 แบบ นั้นก็คือแบบ SPC และแบบ LVT ซึ่งทั้ง 2 แบบก็ใช้วัสดุในการผลิตที่แตกต่างกันไป ทำให้กระเบื้องยาง SPC และกระเบื้องยาง LVT มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน การนำไปใช้งานให้ตอบโจทย์กับงานแต่ละงานก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งทั้ง 2 จะแตกต่างกันอย่างไรและเหมาะสมกับงานแบบไหนลองมาหาคำตอบพร้อมกันได้เลย

รายละเอียด แบบ SPC แบบ LVT
วัสดุในการผลิต ผงหินผสมพลาสติกโพลิเมอร์ เพียวพลาสติกแท้ 100 %
ทนน้ำ มีส่วนผสมของหิน ทำให้ทนน้ำได้ดีกว่ากระเบื้องยางทุกประเภท โดนน้ำได้แต่ไม่ถึงขั้นฝนสาดหรือโดนน้ำตลอดเวลา
ยืดหยุ่น ยืดหยุ่นได้น้อย มักขยายตัว เนื่องจากผสมผงหิน ยืดหยุ่นสูง โค้งงอ เข้าได้กับทุกพื้นที่ รับแรงกระแทกได้สูง
ป้องกันรอยขีดข่วน ขึ้นอยู่กับชั้นป้องกันการสึกหรอ และความหนักของการใช้งาน แบบเดียวกับ SPC
ความทนทาน แข็งแรงแต่หากรับน้ำหนักมากเกินไป อาจจะเกิดปัญหาคลิ๊กล็อกแตกหรือหักได้ ยวบตัวเข้ากับทุกพื้นที่ แม้เจอน้ำหนักมากน้อยก็ไร้ปัญหา ยกเว้นน้ำหนักมากจนเกินไป
ราคา ราคาถูกกว่าแบบ LVT ราคาสูงกว่า 50 – 100บ./ตร.ม. เนื่องจากใช้พลาสติก 100%
การติดตั้ง เว้นที่ว่างเพื่อป้องกันการขยายตัวของกระเบื้อง ต้องเก็บงานด้วยบัวเชิงผนังเสมอ ปูชิดกับผนังได้เลยเพราะกระเบื้อง LVT ไม่ขยายตัว

การใช้งานและวิธีการ ปูพื้นกระเบื้อง SPC

สำหรับกระเบื้องยาง SPC / LVT ไม่จำเป็นต้องใช้กาวในการติดตั้ง แต่เป็นตัวคลิ๊กล๊อค (click lock) ต่อกันได้เลย ต้องการมีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการ ใช้งานให้เรียบร้อย ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ ปูนสำหรับปรับพื้น, เกรียงฉาบปูนซีเมนต์, ตลับเมตร, ไม้วัดระดับน้ำ, เต้าตีเส้น, ถังผสมปูน, คัตเตอร์ หรือ เครื่องตัดกระเบื้อง, ฟองน้ำหรือผ้า

  1. หลังจากเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ต่อไป เราต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับพื้น โดยเริ่มจากการสำรวจพื้นว่าเป็นพื้นแบบไหน หลังจากนั้นเริ่มเคลียร์พื้นที่หน้างานให้เรียบร้อย แล้วก็วัดพื้นหน้าขนาดงาน สุดท้ายเช็คและตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นอีกรอบ
  2. ขั้นตอนการปู เริ่มจากเอากระเบื้องออกจากกล่องทิ้งไว้ในอุณภูมิห้องประมาณ 20-24 ชม ตรวจสอบความชื้นของพื้นไม่ให้เกิน 5 เปอร์เซ็น หลังจากนั้นเริ่มปูจากทางเข้าก่อนถึงจะดี แต่ที่สำคัญคือต้องปูไปตามแนวขนานของห้อง ปูห่างจากผนังห้องประมาณ 5 เซนติเมตร หลังจากนั้น ก็ใช้บัวเชิงผนังติดตามขอบผนัง แล้วใช้ซีโคลนยาแนวขอบอีกรอบ เพียงแค่นี้ก็จบแล้ว การใช้งานเรียบร้อยแล้ว