หน้าแรก
สินค้า
แชทไลน์

banner

บ้านน็อคดาวน์ คือ อะไร ข้อเสีย ข้อดี มีอะไรบ้าง อยู่ได้กี่ปี ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ

บ้านน็อคดาวน์ คือ อะไร ทำไมทุกวันนี้เห็นเต็มไปหมด ? สำหรับคนที่เกิดคำถามคงคิดในใจว่า บ้านน็อคดาวน์เป็นอย่างไร การก่อสร้างต่างจากบ้านปูนที่ต้องก่ออิฐฉาบปูนอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศไทยการสร้างบ้านด้วยวิธีอื่น นอกจากการก่ออิฐฉาบปูนนั้นค่อนข้างใหม่และยังไม่ได้รับการไว้วางใจจากคนไทยมากนัก โดยการสร้าง บ้านสำเร็จรูป เริ่มมีในไทยเมื่อ 10 – 15 ปีที่ผ่านมา ต่างจากในต่างประเทศการสร้างบ้านด้วยแบบโมดูลาร์นั้นได้รับการยอมรับและมีการใช้งานมานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศที่ประสบปัญหาแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง การสร้างบ้านที่รวดเร็ว รับน้ำหนักได้ดี เคลื่อนย้ายได้ง่าย จึงได้รับความนิยมมากเลยทีเดียว

บ้านน็อคดาวน์ นอร์ดิก JH-07 บ้านพักตากอากาศ

บ้านน็อคดาวน์ คือ อะไร

บ้านพักน็อคดาวน์ คือ บ้านที่ประกอบกอบจากโรงงานใช้โครงเหล็กในการก่อสร้าง ไม่มีคาน รับน้ำหนักด้วยผนัง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ เป็นวัสดุเดียวกับการก่อสร้างบ้านทั่วไป ทั้งแผ่น เมทัลชีส แผ่นสมาร์ทบอร์ด โครงสร้าง ผนัง พื้น หลังคา ตลอดจนหน้าต่างประตู และสุขภัณฑ์มีพร้อมสรรพ ห้องภายในตัวบ้านจะขึ้นอยุ่กับขนาดของบ้าน ขนาดใหญ่อาจจะมีห้องครัวหรือห้องน้ำเพิ่มมา ส่วนขนาดเล็กก็อาจจะมีเพียง 1-2 ห้องเท่านั่นเอง ซึ่งชิ้นส่วนของบ้านประเภทนี้จะได้รับการออกแบบให้สามารถถอดประกอบได้ง่าย สามารถยกย้ายเคลื่อนที่ เอาไปติดตั้งยังที่ไหนๆ ก็ได้ตามที่ต้องการ เรามักจะเห็นตามข้างทาง ปั๊มน้ำมัน ไซต์งานก่อสร้าง หรือสถานที่พักต่าง ๆ” บ้านน็อคดาวน์ หรือที่หลายคนมักเรียกติดปากว่า “บ้านสำเร็จรูป” เริ่มได้รับความนิยมมาจากประเทศญี่ปุ่น และขยายกว้างไปยังประเทศแถบยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อยๆ ทางด้านประเทศไทยมักนำมาทำเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟสไตล์นั่งชิล เพราะด้วยราคาที่ไม่สูงจนเกินไปและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ในอดีตบ้านประเภทนี้เน้นความเร็วและราคาไม่แพง จึงเน้นวัสดุที่ประกอบง่าย ปัจจุบันมีผู้ให้ความนิยมบ้านประเภทนี้มากขึ้น ลักษณะของตัวบ้านจะแตกต่างกันไป ผู้รับเหมาหลายรายจึงได้พัฒนาเทคนิคการสร้างให้มั่นคงและแข็งแรงขึ้น มีการวางระบบไฟฟ้าและน้ำประปา พร้อมทั้งต่อเติมคานเหล็กภายในทำให้ตัวบ้านแข็งแรงมากกว่าเดิม และสามารถยืดอายุการใช้งานให้สามารถอยู่อาศัยได้มากกว่า 20 ปี !! เมื่อพูดถึงการสร้างบ้านราคาประหยัด บางคนอาจนึกถึงบ้านในงบไม่เกินกี่แสนบาทก็ว่ากันไป แต่อีกหนึ่งทางเลือกที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นก็คือการสร้าง บ้านน็อกดาวน์ นั่นเอง

บ้านน็อคดาวน์ ข้อเสีย ข้อดี มีอะไรบ้าง

ข้อดี

  1. ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างไม่นาน

ใช้ระยะเวลาในการสร้างไม่นาน เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์ มีการสร้างจากโรงงานสำเร็จรูป ไม่ต้องเสียเวลาลงเสาหรือคาน พร้อมสำหรับนำไปวางในพื้นที่ทันที ใครที่เป็นกังวลเรื่องระยะเวลาในการติดตั้งจะนานบอกเลยหมดห่วง เพราะใช้เวลาในการติดตั้งเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ หรือไม่เกิน 1 เดือนขึ้นอยู่กับขนาดหรือรายละเอียดของบ้านแต่ละหลัง

  1. ประหยัดงบประมาณในการใช้จ่าย 

บ้านน็อคดาวน์ส่วนใหญ่ตามบริษัทจะมีรูปแบบสำเร็จรูปให้เลือกหลายสไตล์ สามารถจะจำกัดงบประมาณตัวเองได้ หรือสั่งทำตามแบบในงบประมาณตัวเองก็ได้ โดยปกติราคาของบ้านสำเร็จรูปจะมีหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน

  1. ไม่ต้องเสียค่าต่อเติม ค่าจุกจิก

ไม่ต้องเสียค่าต่อเติม ค่าผู้รับเหมาจุกจิกหรือหมดปัญหาเรื่องผู้รับเหมาหนี ด้วยรูปแบบของการผลิตจากโรงงานกว่าจะแล้วเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้า จะต้องผ่านการตรวจสอบทุกกระบวนการทำงานจากลูกค้า เพื่อให้ได้แก้ไขข้อผิดพลาดก่อนถึงมือลูกค้า ลูกค้าสามารถเข้ามาตรวจในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อยืนยันความถูกต้องก่อนชำระเงินงวดสุดท้าย ลูกค้าหลายท่านคงอยากจะสบายใจในสิ่งนี้

  1. ระบบน้ำ ไฟ เดินง่ายสะดวกกับช่างและการซ่อมแซมในอนาคต

เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์ทำจากชิ้นส่วนวัสดุ จึงกำหนดตำแหน่งทางเดินระบบน้ำได้ง่าย ระบบไฟก็เช่นกัน รวมถึงสุขภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำที่มีให้มาอย่างเสร็จสรรพ ที่สำคัญบริษัทที่ผลิตบ้านน็อคดาวน์จะบริหารจัดการให้ช่างระบบไฟ ระบบน้ำ ช่างระบบอื่น ๆ ทำงานให้แล้วเสร็จตามไทม์ไลน์ ต่างจากบ้านทั่วไปที่เจ้าของบ้านต้องปวดหัวกับการตามช่างไฟ ช่างระบบน้ำ ให้เข้าทำงาน

  1. ยืดหยุ่น โดดเด่นด้วยการเคลื่อนย้ายได้

อีก 1 จุดเด่นของบ้านน็อคดาวน์ที่ดีกับลูกค้าเพราะง่ายต่อการขนย้าย ด้วยความที่บ้านน็อคดาวน์ประกอบจากชิ้นส่วนที่มาจากโรงงาน จึงมีน้ำหนักที่เบากว่าถ้าเทียบกับบ้านจริง จึงทำให้มีความสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

  1. แข็งแรงทนทาน

ถึงบ้านน็อคดาวน์จะไม่ได้ทำจากอิฐหรือปูนก็ตาม แต่ด้วยตัวบ้านที่ประกอบจากโครงเหล็กก็ทำให้แข็งแรงทนทานได้ดีทีเดียว แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่นำไปวาง เตรียมพื้นอย่างไร เตรียมพื้นดีไหม แน่นพอสำหรับรองรับตัวบ้านหรือเปล่า

ข้อเสีย

  1. วัสดุในการสร้างไม่สามารถเลือกได้ทุกชนิด

เนื่องจากเป็นโปรดักที่ต้องประกอบจากโรงงานเป็นชิ้นส่วน โดยจะใช้เหล็กสร้างเป็นโครงบ้าน ส่วนผนังจะต้องใช้เป็นผนังฉนวนเบาเท่านั้นเพื่อให้ตัวบ้านไม่ได้รับผลกระทบกับน้ำหนักมากจนเกินไป โดยทั่วไปบริษัทที่รับผลิตจะเป็นคนเลือกวัสดุเอง ลูกค้าไม่สามารถเลือกหรือเปลี่ยนวัสดุได้ตามใจชอบได้ทุกชนิด ต้องคำนึงถึงน้ำหนักเป็นหลัก

  1. ต่อเติมภายหลังไม่ได้

ไม่สามารถปรับปรุงหรือต่อเติมภายหลังได้ เนื่องจากวัสดุ โครงสร้าง รายละเอียดต่างๆ ของบ้านน็อคดาวน์ถูกทำขึ้นเพื่อความสำเร็จรูปอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่แบบร่าง เมื่อสั่งทำแล้วจึงไม่สามารถจะปรับปรุงหรือต่อเติมได้ อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างในภายหลังได้

บ้านน็อคดาวน์ อยู่ได้กี่ปี

บ้านน็อคดาวน์จะมีการอายุการใช้งานราว 15-30 ปีส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับวัสดุที่บริษัทเลือกใช้ เกรดของวัสดุนั้นๆ ความจำกัดของงบประมาณก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอายุการใช้งาน หากลูกค้าอยากได้บ้านน็อคดาวน์ที่มีราคาต่ำ วัสดุที่เลือกใช้ก็จะลดลงมาตามงบประมาณที่ตั้งไว้ อาจจะใช้เหล็กมีความหนาใกล้เคียงแต่ลดจำนวนลง ไปจนถึงการเลือกใช้แผ่นผนังที่มีความบางไม่ได้มาตรฐานอาจจะส่งผลที่ตามมาในการอยู่อาศัยอีกด้วย

บ้านน็อคดาวน์ ขออนุญาตก่อสร้าง หรือไม่ ? มีขั้นตอนอย่างไร ?

บ้านน็อคดาวน์ ขออนุญาตก่อสร้าง ไหม ? อย่างที่เรารู้กันว่าบ้านน็อคดาวน์เป็นบ้านที่ผลิตจากวัสดุเป็นชิ้นๆ ประกอบเสร็จจากโรงงานเสร็จสรรพ พร้อมนำไปวางตั้งเพื่อการอยู่อาศัยทันที แค่การอยู่อาศัยของบ้านน็อคดาวน์ จำเป็นต้องจดทะเบียนไหม ต้องมีการขออนุญาตหรือเปล่า มีขั้นตอนแบบไหน วันนี้มาคุยกัน

บ้านน็อคดาวน์ ถ้ายังอยู่ในโรงงานหรือยังไม่ได้นำมาติดตั้งลงพื้น ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน แต่ถ้าในการสร้างบ้านน็อคดาวน์ จำเป็นจะต้องสร้างบนพื้นที่ที่ไม่ใช่ โรงงานหรือสถานผลิต ก็ควรจะขออนุญาตในการก่อสร้างเพื่อทำตามข้อกฎหมายการปลูกสร้าง เพราะต้องทำการขอสาธารณูปโภคต่างๆ มาใช้ เพราะต้องใช้ในการอ้างอิงที่อยู่เหมือนกับบ้านปกติทั่วไป ถ้าหากลูกค้ามีบ้านอยู่แล้ว หรือ เคยสร้างบ้านน็อคดาวน์ภายในพื้นที่เดียวกัน แต่ต้องการบ้านน็อคดาวน์ไปต่อเติมเพิ่มเติม ก็ต้องคำนึงถึงกฎหมายการต่อเติมอาคารที่พักอาศัยทั่วไป

บ้านน็อคดาวน์ ขออนุญาตก่อสร้าง หรือ ใบ อ.1 มีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมอย่างไร ?

ก่อนจะปลูกสร้างบ้านหรืออาคารซักหลัง การขอใบอนุญาตก่อสร้างเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมาก เพื่อให้การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าของบ้านจะมีความผิดตามกฎหมาย โดยสามารถเอาผิดย้อนหลังได้ !!

โดยการขอใบอนุญาตเจ้าของบ้านต้องรวมเอกสารหลักฐานและเขียนคำเรียกร้องเพื่อยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ระยะต่างๆของถนน การเว้นระยะห่างกับชุมชนรอบข้าง เพื่อความปลอดภัยและการละเมิดสิทธิ์ของผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ?

  1. เอกสารสำเนาบัตรประชาชน (ผู้ขออนุญาต และเจ้าของที่ดิน) จำนวนอย่างละ 1 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขออนุญาต และเจ้าของที่ดิน) จำนวนอย่างละ 1 ชุด
  3. เอกสารแสดงการครอบครองที่ดิน ได้แก่ สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนา นส.3 จำนวน 2 ชุด
  4. แบบแปลนก่อสร้างแผนผัง และรายการประกอบแบบ จำนวนอย่างละ 5 ชุด
  5. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (ของบริษัทที่จะทำการก่อสร้าง)

เอกสารเพื่อประกอบการพิจรณาเฉพาะเรื่อง

  1. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดิน (กรณีสร้างอาคารในที่ดินของผู้อื่น)
  2. ใบยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีสร้างอาคารในที่ดินของผู้อื่น)
  3. ใบยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดที่ดิน
  4. ใบรับรองของสถาปนิก
  5. ใบรับรองของวิศวกร
  6. ใบควบคุมงานของสถาปนิก
  7. ใบควบคุมงานของวิศวกร
  8. หลักฐานแสดงที่ดินใกล้เคียง (ในกรณีที่ใช้ผนังร่วมกัน หรือสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดิน)
  9. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง
  10. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง
ข้นตอนการขอใบอนุญาตก่อสร้าง
  1. เริ่มต้นจากการรวบรวมเอกสารที่มีความจำเป็น และเขียนคำร้อง แล้วยื่นต่อเจ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตในท้องถิ่น ในขั้นตอนนี้ควรยื่นเอกสารที่มีความจำเป็นมาอย่างครบถ้วน เพื่อยื่นให้ทางเจ้าพนักงานได้รับไปตรวจสอบ และพิจารณาตามความเหมาะสม หากเอกสารที่ยื่นมาไม่ครบถ้วน อาจจะส่งผลให้ไม่ผ่านการพิจารณา
  2. เจ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตประจำท้องถิ่น จะตรวจสอบแบบแปลน โดยในพื้นที่ที่ได้มีการประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้าน หรืออาคาร จะต้องมีการอนุญาตจากทางการ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน และอาคาร โดยจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับการอนุญาตแล้วเท่านั้น
  3. หลังจากมีการตรวจสอบคำร้อง เอกสารต่าง ๆ รวมถึงแบบแปลนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ยื่นคำร้องก็จะได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร แต่ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร อาจจะต้องมีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วน ผู้ยื่นคำร้องจะต้องไปแก้ไขตามที่ทางเจ้าพนักงานได้แจ้ง และเมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำเอกสาร และคำร้องมายื่นต่อเจ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตในท้องถิ่นใหม่อีกครั้ง
  4. เมื่อผู้ยื่นคำร้องได้รับใบอนุญาตแล้ว นอกจากจะเก็บเอกสารฉบับจริงไว้แล้ว ควรทำสำเนาเก็บไว้ด้วย เผื่อไว้ในกรณีที่เกิดการสูญหาย หรือเอกสารชำรุด จากนั้นให้ทางวิศวกร ผู้รับเหมา หรือบริษัทรับก่อสร้างบ้าน ได้ดำเนินงานก่อสร้างบ้านต่อไป

แผ่น isowall คือ อะไร ? มีกี่แบบ ? ทำไม ออฟฟิศ สำเร็จรูป บ้านน็อคดาวน์ จึงนิยมใช้งาน

isowall คือ แผ่นผนังที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ก่อนที่เราจะรู้จักคุณประโยชน์ของแผ่น ISOWALL เรามาทำความรู้จักกับเจ้าตัวแผ่นกันก่อนเลย แผ่น ISOWALL หรือ แผ่น SANDWICH PANEL ชื่อจะตรงตัวเลยรูปร่างหน้าตาจะดูแล้วคล้ายกับแซนวิช คือเป็น แผ่นฉนวนสำเร็จรูป ที่มีคุณสมบัติในการกันความร้อน ซึ่งเจ้าตัวแผ่น ISOWALL มีด้วยกันทั้งหมดถึง 3 ชั้น โดยมีแกนตรงกลางเป็นโฟมที่ทำมาจากโฟมประเภทต่าง ๆ (ในส่วนนี้จะอธิบายภายหลังหากโฟมที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้งานแผ่น iso แตกต่างกันอย่างไร) ประกบข้างด้วยวัสดุปิดผิวหน้าชั้นบนและชั้นล่าง แผ่น iso wall เป็นเทคโนโลยีที่ผลิตขึ้นมาจากประเทศอังกฤษ แรกเริ่มเดิมทีใช้เป็นวัสดุผลิตห้องเย็นเพื่อกักเก็บและรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ในภายหลังได้มีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติไม่ติดไฟและป้องกันไฟลามได้ ป้องกันเสียงผ่านเข้ามาและไม่ทำให้มีเสียงออกไปรบกวนด้านนอก ก่อนจะมีการพัฒนาและประยุกต์ใช้ทำผนัง หลังคา จนภายหลังนิยมใช้เป็นวัสดุหลักในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่เราพบเห็นบ่อย ๆ อย่าง บ้านน็อคดาวน์ ออฟฟิศสำเร็จรูป ห้องน้ำ ร้านค้าสำเร็จรูป และ ป้อมยาม

แผ่นผนังสำเร็จรูป แผ่น isowall คือ แผ่นฉนวนสำเร็จรูป น้ำหนัก เบา กันการลามไฟ

แผ่น SANWICH PANEL มีแบบไหนให้เลือกใช้งานบ้าง

ถ้าจะแบ่งประเภทของแผ่นฉนวนสำเร็จรูป ส่วนใหญ่แล้วจะจำแนกตามคุณสมบัติของโฟมที่ทำให้หน้าที่ให้แผ่นผนัง iso wall คือ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน จะมีรุ่นอะไรบ้างเดี่ยวทาง แอดมิน มาบอกให้ทราบกันน้า เพื่อให้เลือกใช้ได้ตอบโจทย์การใช้งานของเพื่อน ๆ พี่ ๆ ทุกคน

  1. แผ่นฉนวนสำเร็จรูป กันความร้อน EPS Panel  รุ่นนี้โฟมแกนกลางจะมีสีขาว (PS) POLY STYRENE FOAM ความหนาเริ่มต้น 50 มิลลิเมตร ทำหน้าที่ในการรักษาระดับของอุณหภูมิภายใน ความหนาเริ่มต้นส่วนใหญ่นิยมใช้กับงานน็อคดาวน์จำพวกบ้าน ออฟฟิศ ป้อมยาม ห้องน้ำ หากความหนาโฟมมากกว่านี้จะใช้กับงานห้องคลีนรูม ห้องอบ ห้องแช่ ห้องเย็น ในงานอุตสาหกรรม
  2. แผ่นฉนวนสำเร็จรูป PIR Panel เนื้อโฟมมีสีเหลืองผลิตจาก พอลิไอโซไซยานูเรต โฟม มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Pu foam ที่เป็นโฟมเหลืองที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำฉนวนกันร้อน PIR โฟมเป็นโฟมที่พัฒนาในการกันความร้อนและกันไฟที่มากกว่า PU foam สามารถทนไฟได้สูงอุณหภูมิมากกว่า 400 องศา นิยมใช้กับงานบ้านงานอาคารทั่วไป
  3. แผ่นฉนวนสำเร็จรูป กันไฟ ROCK WOOL เนื้อโฟมมีสีเหลือง ผลิตจากเส้นใยหิน  จุดเด่นของรุ่นนี้ มาพร้อมสามารถในการทนไฟได้สูงถึง 1000 องศาเซลเซียส นิยมใช้กับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่บริเวณที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุณหภูมิสูง เช่น ห้องอบ ห้องไลน์ผลิต


จุดเด่นของแผ่น isowall คือ

  1. ทนต่อสภาพอากาศสูงสามารถทนความเย็นได้มากถึง -60° และทนความร้อนได้ถึง 100° มีอัตราการดูดซับน้ำต่ำ
  2. แผ่น ISO WALL มีความแข็งแรงคงทนแต่กลับมีน้ำหนักที่เบา ทำให้ได้รับความนิยมในการนำไปทำผนังหรือหลังคา เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนและมีน้ำหนักที่เหมาะต่อโครงสร้างอาคาร
  3. แผ่น ISO WALL มีคุณสมบัติในการปกป้องการลามไฟถึง 100 % เนื่องจากแผ่นโฟมที่นำมาผลิตนั้นมีคุณสมบัติในการป้องกันไฟอย่างดี จึงไม่ต้องคอยวิตกกังวลในเรื่องของภัยที่จะเกิดขึ้น
  4. ซับเสียงได้มากถึง 30% ปกป้องเสียงรบกวนจากทั้งภายในและภายนอก มีการประยุกต์นำไปทำเป็นห้องซ้อมดนตรี ห้องอัดเพลง
  5. ช่วยลดเวลาก่อสร้างได้มากถึง 50% เพราะเป็นโครงสร้างที่ติดตั้งได้เลย
  6. ตัดแต่งได้ง่าย สามารถตัดแต่งออกแบบออฟฟิศสำเร็จรูปได้ง่ายแบบไม่เสียรูปทรง ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่แค่ออฟฟิศสําเร็จรูปเท่านั้น สามารถนำไปใช้กับป้อมยาม หรือ ห้องน้ำสำเร็จรูปได้เช่นกัน
  7. ฉนวนที่ขนาบข้างเนื้อโฟม มีสาร Microban ในการป้องกันการเกิดเชื้อราและแบคทีเรีย ช่วยให้แผ่น ISO WALL มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  8. ควบคุมอุณหภูมิได้ดี ทำให้ออฟฟิศสำเร็จรูปเย็นมากขึ้น สามารถป้องกันอากาศร้อนจากด้านนอกได้ดีเลยทีเดียว ช่วยให้ประหยัดพลังงานไปในตัว

หายสงสัยกันหรือยังครับว่าทำไม แผ่นIso wall ถึงเป็นที่นิยมในงาน บ้านสำเร็จรูป ออฟฟิศสำเร็จรูป อย่างที่บอกไปครับ น้ำหนักเบา ตัดแต่งได้ง่าย สามารถกันความร้อนได้ ไงละครับ สำหรับบทความนี้ผมก็ขอตัวลาไปก่อนอย่าลืมกดไลท์กดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจในการทำเนื้อหาสาระดี ๆ ต่อไปครับ ครั้งหน้านั้นจะเป็นเกร็ดความรู้อะไรเดี๋ยวรอติดตามกันเลยครับ

บ้านน็อคดาวน์ ติดตั้งโซล่าเซลล์ ควรคำนึงถึงอะไร

โซล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า (Solar Cell) โดยพลังงานกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์นั้น เป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือ (DC) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที ปัจจุบันมีการใช้ใน โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านที่อยู่อาศัย รวมทั้ง บ้านน็อคดาวน์ ออฟฟิศ สำเร็จรูป ด้วย ซึ่ง บ้านน็อคดาวน์ ติดตั้งโซล่าเซลล์ นั้นจะมีข้อแตกต่างกับการติดตั้งบนหลังคาบ้านหรืออาคารทั่วไปตามแบบและขนาดของโครงสร้าง ดังนั้นเราจึงรวบรวม 4 ข้อคำนึงเพื่อให้คุณคิดพิจารณาว่าบ้านหรือออฟฟิศน็อคดาวน์ของคุณ หากติดตั้ง โซล่าเซลล์ จะคุ้มค่า คุ้มทุนหรือไหม

บ้านน็อคดาวน์ ติดตั้งโซล่าเซลล์ knock down solar cell ใช้ไฟพลังงานแสงอาทิตย์ 4

4 ข้อคำนึงก่อนให้ บ้านน็อคดาวน์ ติดตั้งโซล่าเซลล์

  1. เช็คพฤติกรรมการใช้ไฟ

ก่อนจะหาผู้ผลิตที่ติดตั้งโซล่าเซลล์ หรือ คิดว่าต้องติดตั้งกี่แผ่นดี ? สิ่งที่คุณต้องคำนึงเป็นอย่างแรก คือ พฤติการใช้ไฟภายในบ้านน็อคดาวน์หรือออฟฟิศน็อคดาวน์ของคุณมีมากน้อยแค่ไหน การใช้ไฟในเวลากลางวันและกลางคืนแบ่งสัดส่วนเป็นอย่างไร ส่วนนี้จะเป็นแนวทางที่ช่วยประเมิณให้เห็นว่าคุณต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังผลิตเท่าไหร่

  1. พื้นที่หลังคาสัมพันธ์กับหรือพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าหรือไหม

ข้อแตกต่างของบ้านพักอาศัยทั่วไปและบ้านน็อคดาวน์คือขนาดของบ้าน ทำให้พื้นที่ติดตั้งโซล่า ROOF TOP มากน้อยต่างกัน กำลังผลิตไฟก็ย่อมน้อยกว่าบ้านทั่วไป ขณะเดียวกันบ้านน็อคดาวน์ส่วนใหญ่มักใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าน้อยกว่าบ้านทั่วไปหลายเท่าการติดตั้งโซล่าเซลล์ 2-3 ก็อาบครอบคลุมการใช้งานทั้งหมด ทั้งนี้คุณต้องสำรวจบ้านน็อคดาวน์ที่ใช้งานว่ามีขนาดเท่าไหร่ พื้นที่หลังคาติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้ทั้งหมดกี่แผง เพียงพอสำหรับผลิตกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานหรือไหม ความเชื่อมโยงในส่วนนี้จะเป็นแนวทางที่ช่วยประเมิณให้เห็นถึงความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุนที่สอดคล้องกัน

  1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

สำหรับบ้านน็อคดาวน์จะแตกต่างจากบ้านหรืออาคารทั่วไปที่ไม่มีหม้อแปลงภายในบ้าน ทำให้การติดตั้งโซล่าเซลล์ในบ้านน็อคดาวน์จะไม่มีในส่วนของ Inverter ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายลงหม้อแปลงก่อนจ่ายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่ต่าง ๆ ทำให้ค่าใช่จ่ายในการติดตั้งโซล่าเซลล์ในบ้านน็อคดาวน์มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าแบบบ้านทั่วไป การลงทุนที่ใช้น้อยกว่าทำให้จุดคุ้มทุนสั้นกว่า

  1. พื้นที่เหมาะสมไหมกับการติดตั้งโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซล่าเซลล์ควรพิจารณาพื้นที่กว้าง หรือมุมหรือองศาในการติดตั้งและไม่มีต้นไม้หรือตึกบัง เพื่อให้บริเวณพื้นที่ที่มีการติดตั้งแผ่นโซลาร์เซลล์รับแสงจากพระอาทิตย์ได้เต็มความสามารถของตัวแผง และสอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้า

สำหรับบ้านน็อคดาวน์และบ้านทั่วไปการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ก็จะแตกต่างกัน การคำนึงถึง ความคุ้มค่า จุดคุ้มทุน ก็ต่างกัน หวังว่า 4 ข้อคำนึงนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ตัดสินใจเลือกได้อย่างคุ้มค่า

บ้านน็อคดาวน์ ขอบ้านเลขที่ ขอทะเบียนบ้าน ได้ไหม ? มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

บ้านน็อคดาวน์ ขอบ้านเลขที่ ขอทะเบียนบ้าน ได้ไหม ? หากขอได้จะมีขั้นตอนในการดำเนินการแตกต่งจากบ้านทั่วไปอย่างไร ? เป็นคำถามยอดฮิตที่หลายๆ คนสงสัย และต้องการทราบเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นในส่วนของบทความนี้ทางเราจึงจะขออธิบายพร้อมกับแนะนำแนวทางในการปฏิบัติ ในการติดต่อเพื่อขอบ้านเลขที่ ขอทะเบียนบ้านในแบบต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคนที่สนใจ บ้านน็อคดาวน์ แต่วิตกกังวัลหากซื้อไปแล้วขอทะเบียนบ้าน บ้านเลขที่ ขอน้ำ ขอไฟ ไม่ได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร ? บ้านน็อคดาวน์ ถึงแม้จะใช้วัสดุมวลเบาในการก่อสร้างก่อจำเป็นต้องจดทะเบียนและขออนุญาติ ไม่ต่างจากบ้านที่ก่อสร้างจากวัสดุจำพวกอิฐหินปูนเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการก่อสร้างบนพื้นจริง ๆ ก็ต้องขออนุญาตเหมือนเป็นสิ่งปลูกสร้างตามปกติทั่วไป ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะนำบ้านน็อคดาวน์ไปทำเป็นร้านกาแฟ ออฟฟิศ สำนักงาน หรือบ้านจริงๆ และเมื่อคุณต้องการขอสาธารณูปโภคหรือสิ่งอำนวยความสะดวกจากภาครัฐ เช่น ขอน้ำ ขอไฟฟ้า หรืออินเทอร์เน็ต ฯลฯ  ก็ต้องมีการอ้างอิงที่อยู่เหมือนปกติทั่วไป อีกข้อที่สำคัญหากคุณมีบ้านที่ใช้พักอาศัยอยู่แล้ว หรือเคยสร้างบ้านน็อคดาวน์อยู่ในพื้นที่เดียวกันอยู่แล้ว แต่ต้องการบ้านน็อคดาวน์ไปต่อเติมเพิ่มเติมก็ต้องคำนึงถึงกฎหมายการต่อเติมอาคาร ที่พักอาศัยด้วย

บ้านน็อคดาวน์ ขอบ้านเลขที่ ขอทะเบียนบ้าน ได้ไหมครับ

บ้านน็อคดาวน์ ขอบ้านเลขที่ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

สำหรับการขอทะเบียนบ้านและเลขที่บ้านให้กับ บ้านน็อคดาวน์ หรือ บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ก็ไม่ได้มีความยุ่งยากหรือซับซ้อน เหมือนการขอให้กับบ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างทั่วไปเลย คุณสามารถดำเนินการได้ด้วย 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. โดยขั้นแรกเราจะต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างก่อน โดยจะต้องติดต่อกับเจ้าพนักงานในพื้นที่ หากอยู่ในพื้นที่ กทม. ให้ติดต่อสำนักงานเขตฝ่ายโยธา ถ้าอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ให้ติดต่อสำนักงานเทศบาลหรือ อบต. แผนกกองช่าง เพราะแต่ละที่มีกฎระเบียบและขั้นตอนที่แตกต่างกัน
  2. ขั้นตอนที่สอง นำโฉนดและแบบบ้านไปปรึกษาวิธีการปลูกสร้างหรือติดตั้งให้ถูกต้องก่อน หลังจากแบบถูกอนุมัติ ใบอนุญาตก่อสร้างจะออกภายใน 45 วัน
  3. ขั้นตอนที่สาม ระยะเวลาในการก่อสร้างจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
  4. ขั้นตอนที่สี่ เมื่อสร้างบ้านน็อคดาวน์เสร็จสมบูรณ์ สามารถนำใบอนุญาตก่อสร้างไปขอบ้านเลขที่กับหน่วยงานที่ติดต่อไปในขั้นตอนที่หนึ่งได้เลย

เอกสารประกอบที่ใช้ ขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้าน มีดังนี้ !

  • เอกสาร ท.ร.9 ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้านโดยหน่วยงานท้องถิ่น
  • ใบอนุญาตก่อสร้าง
  • โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธ์แสดงการครอบครองที่ดิน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน และบัตรประชาชนของผู้แจ้งขอทะเบียนบ้านหรือผู้แทน
  • รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการเสร็จแล้ว 3 ด้าน (หน้า,หลัง,ข้าง,)

เมื่อยื่นเอกสารครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะแจ้งเลขที่ประจำบ้านภายในระยะเวลา 7-30 วันทำการ เมื่อได้เลขที่บ้านเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำไปขอ น้ำ,ไฟและอินเทอร์เน็ต กับหน่วยงานต่าง ๆ ต่อได้เลย

ทั้งหมดนี่ก็คือคำตอบในข้อสงสัยที่หลายคนกังวลใจกันว่า บ้านน็อคดาวน์จะขอทะเบียนบ้าน ขอบ้านเลขที่ได้ไหม หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและทราบวิธีและขั้นตอนการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐในการขอ 2 สิ่งนี้นะครับ สำหรับครั้งหน้าจะมีความรู้อะไรอย่าลืมติดตามกันนะครับ

Back to Top

นโยบายการคืนเงิน

เงื่อนไขการคืนเงิน

  1. กรณีลูกค้าเลือกชำระด้วยบัตรเครดิต

1.1 หากมีการยกเลิกรายการก่อนทำการบรรจุสินค้าลงกล่อง ทางบริษัทฯ จะทำการคืนวงเงินกลับไปยังบัญชีบัตรเครดิตภายในวันทำการถัดไป

1.2 กรณีที่มีการคืนสินค้าหลังได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทฯ จะทำการปรับปรุงคืนวงเงินไปยังบัญชีบัตรเครดิต หรือ Paypal ของลูกค้าภายใน 14 วันทำการนับจากวันที่บริษัทฯ ได้ทำการตรวจสอบและยืนยันการรับคืนสินค้า

  1. กรณีลูกค้าชำระด้วยวิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1

2.1 สำหรับรายการที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท ทางบริษัทฯ จะทำการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้า ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่บริษัทฯ ได้ทำการตรวจสอบและยืนยันการรับคืนสินค้า

2.2 สำหรับรายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป ทางบริษัทฯ จะทำการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้า ภายใน 5 วันทำการนับจากวันที่บริษัทฯ ได้ทำการตรวจสอบและยืนยันการรับคืนสินค้า

เงื่อนไขการรับประกัน

บริษัทฯ รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ซื้อสินค้า และมีเงื่อนไขและข้อกำหนดดังนี้

  1. ภายใต้ระยะเวลาของการรับประกัน บริษัทฯ อาจทำการซ่อมหรือเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่ให้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ
  2. หลังจากซ่อมหรือเปลี่ยนสินค้า การนับระยะเวลารับประกันจะเริ่มนับต่อเนื่องจากที่เหลืออยู่
  3. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือเปลี่ยนสินค้า โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของบริษัทฯ
  4. สินค้าที่ส่งเคลม จำเป็นต้องทิ้งไว้เพื่อตรวจสอบความบกพร่องหรืออาการเบื้องต้นก่อน
  5. บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบต่อสินค้าที่เสียหายที่อยู่นอกข่ายการรับประกัน หรือ สินค้าที่หมดประกันแล้ว

การรับประกันที่ถือเป็นโมฆะตามเงื่อนไข

  1. สินค้าไม่มี void รับประกันของบริษัทฯ หรือไม่มีหมายเลขเครื่องสินค้า (S/N) หรือสติ๊กเกอร์ของบริษัทฯหรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นสินค้าของบริษัทฯ
  2. สินค้าที่เกิดความเสียหายจากการดัดแปลงแก้ไขหรือซ่อมแซม โดยบุคคลที่ไม่ได้รับมอบหมายจากบริษัทฯ การแกะ/ชำแหละ/ดัดแปลงแปลงแก้ไขโดยผู้ใช้
  3. สินค้าที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ น้ำ อาหาร ความชื้น อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป
  4. สินค้าที่เสียหายจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การติดตั้งผิดพลาด การตกกระแทกแตกหักเสียหาย สัตว์เลี้ยงกัดแทะ ฯลฯ มีผลให้สินค้าเสียหาย เป็นต้น

นโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทฯ จะพยายามอธิบายผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าคำบรรยายผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์จะปราศจากข้อผิดพลาดทั้งมวล ดังนั้นหากท่านไม่พอใจในสินค้า หรือเห็นว่าไม่ตรงกับคำบรรยาย บริษัทฯ ยินดีที่จะรับคืนสินค้า (ตามเงื่อนไขการเปลี่ยน คืนสินค้า) เช่นเดียวกัน บริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะแสดงรูปภาพสินค้าที่มีสีที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง แต่สีที่แสดงบนหน้าจอของท่านอาจผิดเพี้ยนได้ตามการตั้งค่าของหน้าจอ คอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันไป

  1. การป้องกันการฉ้อโกง
    บริษัทฯ มีกระบวนการตรวจสอบการฉ้อโกงหรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย บริษัทฯมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธหรือระงับคำสั่งซื้อ หากตรวจพบบัญชีที่มีประวัติการฉ้อโกง และฝ่ายบริการลูกค้าของบริษัทฯ อาจติดต่อท่านผ่านทางโทรศัพท์เพื่อให้ท่านยืนยันคำสั่งซื้อได้ บริษัทฯ อาจยกเลิกบัญชีของผู้ใช้บริการ หากตรวจพบการฉ้อโกงหรือพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย บริษัทฯ บังคับใช้นโยบายดังกล่าวเพื่อปกป้องผู้ใช้บริการของเรา รวมทั้งบริษัทฯ เองจากการถูกต้มตุ๋น หลอกลวง หรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย
  2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
    บริษัทฯ ยินดีรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากท่านเกี่ยวกับเว็บไซต์ สินค้าและบริการของบริษัทฯโดยความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าวจะไม่ถือเป็นความลับ และอาจถูกนำไปใช้ ดัดแปลง ทำซ้ำ และเผยแพร่ได้เพื่อจุดประสงค์ใดๆ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะไม่เชื่อมโยงชื่อนามสกุลของท่านกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของท่าน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านก่อนเว้นแต่ในกรณีที่เป็นการขัดต่อข้อกฎหมายเท่านั้น

นโยบายการจัดส่ง

บริษัทฯ ยินดีรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าภายใน 14 วันหลังจากการสั่งซื้อ ตามกรณีดังต่อไปนี้

  1. ในกรณีที่ทางบริษัทฯจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าผิดจากรายละเอียดจากการยืนยันการสั่งซื้อครั้งล่าสุดจากทางบริษัท ทางบริษัทฯ ยินดีที่จะรับเปลี่ยนและจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง ให้กับลูกค้าใหม่ภายใน วันทำการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
  2. ในกรณีที่มีปัญหาจากตัวสินค้าชำรุดเสียหายเนื่องจากการผลิต หรือสินค้าเกิดความเสียหายเนื่องจากการขนส่งจากทางบริษัท ทางบริษัทฯยินดีที่จะรับเปลี่ยนและจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง ให้กับลูกค้าใหม่ภายใน วันทำการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ